พาทัวร์ พระอุโบสถและพระแก้วมรกตในวัดพระแก้ว

ตลอดชีวิตการทำงานของกระผม ซึ่งเป็น มัคคุเทศก์ท่องเที่ยวมากว่า 20 ปี แต่ทว่างานท่องเที่ยวทัวร์ในปี  2563 ช่างลำบากเหลือเกิน(การท่องเที่ยวซบเซา) เนื่องจากสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด 19 จึงไม่อาจได้ทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเลย เป็นเวลาร่วม 1 ปีเต็มแล้ว (ม.ค.63 – ปี 64) จึงขอ โอกาสเล่าเรื่องราวถ่ายทอดประสบการณ์ ในเรื่องของประวัติ การเรียกชื่อสิ่งก่อสร้างและสิ่งประดับ ประดาต่างๆ ภายในบริเวณของพระอุโบสถและประวัติของพระแก้วมรกตซึ่งอยู่ภายในวัดพระแก้ว มา ณ ที่นี้

พาทัวร์ พระอุโบสถและพระแก้วมรกตในวัดพระแก้ว

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในวัดพระแก้ว รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้น ลักษณะอาคารเป็นแบบไทยประเพณี คือ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาแบบไทยประเพณี คือ ซ้อนลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ (คติพระเจ้าแผ่นดินเป็นนารายณ์อวตาล)หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีที่มีสีตัดกัน เสาโดยรอบเรียกว่า เสาพาไล เป็นเสาย่อมุม มีบัวหัวเสากลีบยาวหรือบัวแวง มีคันทวยรองรับชายคาปึีกนก เป็นเอกลักษณ์ของเสาสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาถึงรัชกาลที่ 2 ทรงบูรณะ ลักษณะของอาคาร ฐานของพระอุโบสถจะเป็นเส้นโค้ง เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนปลายสืบต่อถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีใบเสมาปักอยู่ (ในสมัยอยุธยา ชั้นต้นใบเสมาจะปักอยู่บนพื้นดิน ต่อมาก็ปักอยู่บนฐานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ) พอถึงรัตนโกสินทร์จะมีซุ้มครอบใบเสมา ระหว่างซุ้มเสมา เจาะชักเป็นกำแพงแก้วเตี้ยๆ วงล้อมรอบ 

ถัดมาจะเป็นศาลาราย 2 หลังที่สร้างอยู่โดยรอบ สร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนมานั่งหลบแดดหลบฝน เวลามาไหว้พระแก้วมรกตนั่นเอง จะเห็นได้ว่า รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างวัดพระแก้วไว้ให้ประชาชนเข้ามาสักการพระแก้วมรกตได้ด้วย เปิดให้ประชาชนเข้ามาได้ทุกวันตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา 

   พระอุโบสถแต่เดิม สมัยรัชกาลที่ 1 จะทาด้วยสีแดง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 บูรณะซ่อมครั้งใหญ่ ให้ช่างมาปั้นปูนที่ผนังโดยรอบเพื่อปิดทองประดับกระจก แต่โครงสร้างอาคารเป็นของเดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยซุ้มเสมามีทั้งหมด 8 ซุ้มแต่ละซุ้มมีใบเสมา 2 ใบ แสดงฐานะของ วัดหลวง

ด้านหน้ามีพระทวารกลางเป็นที่เสด็จพระราชดำเนินเข้าออก มีบานประตูประดับมุข (Mother Pearl Door Panel) เป็นอิทธิพลของจีน สองข้างมีสิงโตอยู่ เรียกว่า Door Guardian เป็นสิงห์ทำจากสัมฤทธิ์  รัชกาลที่ 1 ได้สิงห์คู่แรกมาจากเมือง หทัยมาตร ประเทศกัมพูชา รัชกาลที่ 1 โปรดให้หล่อขึ้นอีก 5 คู่ มาประดับ 6 ประตูของพระอุโบสถ อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ บุสสิริเย่ ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศส เมื่อมามองลวดลายบนหน้าอกของสิงห์แล้ว ท่านบอกว่าลวดลายนี้เป็นลายไทยมากกว่าลายเขมร จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าหล่อขึ้นที่เขมรหรือไทยกันแน่

พาทัวร์ พระอุโบสถและพระแก้วมรกตในวัดพระแก้ว

พระแก้วมรกต 

      พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถของวัดพระแก้ว  ประวัติ พระแก้วมรกต พบครั้งแรกที่เมืองเชียงราย มีปูนปั้นหุ้มอยู่ มาวันหนึ่งปูนที่บริเวณจมูกหลุดออก จึงเห็นเป็นสีเขียวด้านในเป็นหยก กษัตริย์ของเชียงใหม่ก็อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงราย ไปจนถึงทางแยกที่จะไปเมืองลำปาง แต่ช้างไม่ยอมเดินไปเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าแผ่นดินเชียงใหม่จึงให้พระแก้วมรกตไปประดิษฐานที่เมืองลำปาง เป็นระยะเวลา 34 ปี จนถึงรัชกาล พระเจ้าดิโลกราช อัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางมาเชียงใหม่ได้สำเร็จ ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง กลางเมืองเชียงใหม่ ต่อมาถึงยุคของพระเจ้าแผ่นดินที่ชื่อ พระชัยเชษฐา (เป็นเขยเจ้าเมืองเชียงใหม่) ซึ่งมีพระราชบิดาเป็นกษัตริย์ลาว ขึ้นครองราช จึงได้ออกอุบายที่จะไปประทับที่เมืองหลวงพระบาง เพื่อที่จะเอาพระแก้วมรกตไปด้วย และต่อมา พระชัยเชษฐา ทำสงครามกับ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง แต่พระชัยเชษฐาสู้ไม่ได้จึงย้ายราชธานีจากหลวงพระบางไปอยู่เวียงจันทร์ และอัญเชิญประดิษฐานพระแก้วมรกตที่เวียงจันทร์ถึง 214 ปี ต่อมาถึงกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้รัชกาลที่ 1 ยกทัพเป็นจอมพลไปตีเวียงจันทร์ได้ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังกรุงธนบุรี นำมาไว้ที่วัดอรุณ พอรัชกาลที่ 1 ปราบดาภิเษก  จึงทรงสร้างวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังขึ้น แล้วจึงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้

เครดิตภาพ

https://www.web-pra.com/shop/torumulat/show/1304967

แนะนำ เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์แตกง่าย

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> ไฮโลไทย

Facebook
Twitter