ท่องเที่ยวจังหวัดลพบุรี กันบ้างนะครับ มาคราวนี้จะนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของโบราณสถาน วัดที่สำคัญและเก่าแก่มากในจังหวัดลพบุรี หากมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชม ก็อยากจะแนะนำ วัดนครโกษา การเดินทางจากกรุงเทพฯไปลพบุรี ก็เหมือนเดิมใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงโดยรถยนต์ เรามาทำความรู้จักโบราณสถานประวัติสำคัญของวัดแห่งนี้กันเลยดีกว่า
วัดนครโกษา
วัดนครโกษาเป็นวัดร้างมีซากโบราณสถานที่สร้างทับซ้อนหลายสมัยกล่าวคือ เจดีย์องค์ใหญ่สมัยทวารวดี ปรางค์สมัยลพบุรีตอนปลาย โบสถ์และวิหารสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่ง ใน พ.ศ. 2208 – 2220 คำว่า “วัดนครโกษา” เข้าใจว่าเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและบูรณะช่อมแซมวัดนี้ ซึ่งแต่เดิมไม่ปรากฏนามมาก่อนจึงได้ชื่อว่าวัดนครโกษา ตามราชทินนามของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) นั้นเอง ขอเสนอเกมส์ สล็อต pg เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์
หลังจากสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว เมืองลพบุรีหมดความสำคัญลงมากวัดนครโกษาขาดการทำบุบำรุงรักษาเท่าที่ควร เป็นเวลาเนิ่นนานจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดให้สร้างทางรถไฟผ่านเมืองลพบุรี วิศวกรการทางรถไฟสมัยนั้นก็ตัดทางรถไฟผ่านวัดนครโกษา ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอค โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในสมัยนั้นว่าเป็นผลกระทบด้านความเสียหายต่อโบราณสถาน จากเหตุนี้ทำให้โบราณสถานบางส่วนถูกทำลายไป แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีผู้สนใจค้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี อาทิเช่น สมเด็จกรมพระยาคำรงราชานุภาพ พระยาโบราณราชธานินทร์และผู้เกี่ยวข้อง ทำการบูรณะวัดนครโกษา เท่าที่ควรตลอดมา จนกระทั่งหลัง พ.ศ. 2475 เมื่อมีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลพบุรี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์) ได้นำเทวรูปขนาดใหญ่มีร่องรอยการดัดแปลงเป็นพระพุทธรูปจำนวน 2 องค์ ไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ หลังจากนั้นเมื่อมีการก่อตั้งหน่วยศิลปากรที่ 1 ลพบุรี ได้ทำการทำนุบำรุงรักษาโบราณสถานวัดนครโกษาตามกำลังอัตราบุคลากรและเงินงบประมาณ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2529 หน่วยศิลปากรที่ 1 ลพบุรี เริ่มดำเนินการขุดแต่งและบูรณะวัคนครโกษา ทำให้พบหลักฐานซากโบราณสถาน ศิลปะโบราณวัตถุมากมาย ล้วนมีคุณค่าแก่การศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะมีอุปสรรคจากโบราณสถาน โบสถ์และวิหารในสมัยอยุธยาตอนปลายสร้างทับประชิดเจดีย์องค์ใหญ่ ประกอบกับทางด้านทิศใต้ประสบปัญหามีกลุ่มบ้านเรือนปลูกสร้างในเขตโบราณสถานมากไปขุดแต่งไม่ได้
จากการขุดแต่งและการบูรณะวัดนครโกษาครั้งนี้ทำให้ทราบฐานของเจดีย์องค์ใหญ่ลึกประมาณ 3.5 – 4.00เมตร พบศิลปะโบราณวัตถุประเภทปูนปั้นและพระพิมพ์ดินเผาและโบราณวัตถุ ประเภทภาชนะดินเผา ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่าวัดนครโกษานี้เป็นศาสนสถานสำคัญมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี และจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย
เครดิตภาพ
https://www.thai-tour.com/place/1675
Credit ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> ป๊อกเด้งออนไลน์